การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning : RBL)
1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538 : 47) ให้ความหมายของการวิจัยว่า
เป็นกระบวนการสืบหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม
การสังเกตการบันทึก การจัดระเบียบข้อมูล
การวิเคราะห์และตีความหมายเพื่อให้ได้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาสร้างเป็นข้อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้น
ๆ และนำผลที่ได้มาพัฒนาหรือสร้างกฎ ทฤษฎี ที่ทำให้ควบคุม หรือทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ
ได้
เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2539 : 27-29) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ว่าเป็นการนำแนวคิดการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอนและผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง
ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำราเอกสารสื่อต่าง
ๆ คำบอกเล่าของอาจารย์ รวมทั้งจากผลการวิจัย และงานวิจัยต่าง ๆ
ตลอดจนทำรายงานหรือทำวิจัยได้
อมรวิชช์ นาครทรรพ (2546 : 12) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ไว้ว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าและค้นพบข้อเท็จจริงต่าง
ๆ ในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเอง
โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือสำคัญ
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2547 : 37) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ
การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ไว้ว่า เป็นการสอนเนื้อหาวิชา
เรื่องราวกระบวนการทักษะ และอื่น ๆ
โดยใช้รูปแบบการสอนชนิดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาหรือสิ่งต่าง ๆ
ที่ต้องการสอนนั้น โดยอาศัยพื้นฐานกระบวนการวิจัย
ทิศนา แขมมณี (2548 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
ก็คือ
การจัดให้ผู้เรียนและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย
ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้
จรัส สุวรรณเวลา (2546 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า
เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังทำให้ผู้วิจัยได้มีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง
สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
นอกจากนี้
การวิจัยได้พัฒนาคุณลักษณะให้ผู้วิจัยต้องมีการคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์
มีความ
ซื่อสัตย์
มีความอดทน
นับได้ว่าการวิจัยมีบทบาทและความสำคัญทั้งในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
การพัฒนาคนและพัฒนางานและส่งผลไปสู่การพัฒนาประเทศ
ตาราง 1 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้ผลการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
|||
แนวทางที่ 1 ครูใช้ผลการวิจัย
ในการเรียนการสอน
ครูใช้ผลการวิจัยประกอบ
การเรียนการสอนเนื้อหาสาระ
ต่าง
ๆ ช่วยให้ผู้เรียนขยาย
ขอบเขตของความรู้
ได้ความรู้
ที่ทันสมัยและคุ้นเคยกับแนวคิด
การวิจัย
|
-
ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยว
ข้องกับสาระที่สอน
-
ครูศึกษางานวิจัย/ข้อมูลข่าว
สาร/องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหาสาระ
-
ครูนำผลการวิจัยมาใช้
ประกอบเนื้อหาสาระที่สอน
เสริมให้ผู้เรียนได้ความรู้เพิ่มขึ้น
เช่น
ครูนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับ
เรื่องพืช
หรือสุขภาพ มาเสริม
การเรียนรู้สาระดังกล่าว
-
ประยุกต์ใช้ในการเรียน
การสอน
เช่น ครูอ่านผลการ
วิจัยเกี่ยวกับทฤษฎี
ความคาดหวังและนำมาใช้กับ
นักเรียน
เป็นต้น
-
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
-
ครูวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัยควบคู่กับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ
|
-
เรียนรู้เนื้อหาสาระโดยมีผล
การวิจัยประกอบ
ทำให้ผู้เรียน
คุ้นเคยกับเรื่องของ
การวิจัย
การแสวงหาความรู้
การใช้เหตุผล
ฯลฯ
-
อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย/ความสำคัญ
ของการวิจัย
|
|||
ตาราง 2 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบผู้เรียนใช้ผลการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
|||
แนวทางที่ 2 ผู้เรียนใช้ผลการ
วิจัยในการเรียนการสอน
การให้ผู้เรียนสืบค้นและ
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
สาระที่เรียนด้วยตนเอง
|
-
ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลและ
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
สาระที่สอน
-
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
สนใจใฝ่รู้
เกิดข้อสงสัย อยากรู้
อยากแสวงหาคำตอบของข้อ
สงสัย
-
ครูให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่ง
ข้อมูลและงานวิจัย
ที่ผู้เรียนจะต้องสืบค้น
เพื่อการศึกษาหาความรู้
รวมทั้ง
คัดเลือกงานวิจัยที่เหมาะสมกับ
วัยของผู้เรียน
-
ครูอาจจำเป็นต้องสรุปงาน
วิจัยให้เหมาะสมกับระดับของผู้
เรียน
-
ครูแนะนำวิธีการอ่าน/ศึกษาวิเคราะห์รายงานวิจัยตามความ
เหมาะสมกับระดับผู้เรียน
ได้
แก่
องค์ประกอบต่าง ๆ ของ
งานวิจัย
วัตถุประสงค์ วิธี
ดำเนินการวิจัยขอบเขต
ข้อ
จำกัดของผลการวิจัย
อภิปราย
ผล
การวิจัยการอ้างอิง ฯลฯ
-
ครูเชื่อมโยงสาระของงานวิจัย
กับสาระของการเรียนการสอน
-
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
-
ครูวัดและประเมินผลทักษะ
การอ่านรายงานวิจัยและการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย
ควบคู่ไปกับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ
|
-
แสวงหา สืบค้นข้อมูลเกี่ยว
กับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาระ
ที่เรียนรู้ตามความสนใจของตน
-
ศึกษารายงานวิจัยต่าง ๆ
โดยฝึกทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น
เช่น
ทักษะการอ่านงานวิจัย
การสรุปผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัย
การอภิปรายผลการวิจัย
-
นำเสนอสาระของงานวิจัย
อย่างเชื่อมโยงกับสาระที่กำลัง
เรียนรู้
-
อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/ความ
สำคัญของการวิจัย
-
ประเมินตนเองเกี่ยวกับทักษะ
การอ่านรายงาน
และการเรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย
|
|||
ตาราง 3 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้กระบวนการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
|||
แนวทางที่ 3 ครูใช้กระบวน
การวิจัยในการเรียนการสอน
ครูใช้กระบวนการวิจัย
ซึ่งอาจจะเป็นบางขั้นตอนหรือ
ครบทุกขั้นตอนในการจัดการ
เรียนการสอน
โดยพิจารณา
ตามความเหมาะสมกับสาระ
การเรียนการสอนและวัย
ของผู้เรียน
|
-
ครูพิจารณาวัตถุประสงค์และ
สาระที่จะให้แก่ผู้เรียนและ
วิเคราะห์ว่าสามารถใช้ขั้นตอน
การวิจัยขั้นตอนใดได้บ้างใน
การสอน
ซึ่งอาจจะใช้กระบวน
การวิจัยบางขั้นตอนหรือครบ
ทุกขั้นตอน
-
ครูออกแบบกิจกรรมการเรียน
รู้
โดยใช้กระบวนการวิจัย/ขั้น
ตอนการวิจัยที่กำหนด
เพื่อการเรียนรู้สาระที่ต้องการ
ตามแผน
-
ครูดำเนินกิจกรรม โดยใช้
กระบวนการวิจัย/ขั้นตอนการ
วิจัยที่กำหนดในการสอน
-
ครูฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการ
ดำเนินการวิจัยให้แก่ผู้เรียน
(ทักษะการระบุปัญหา ให้คำ
นิยาม
ตั้งสมมติฐาน คัดเลือก
ตัวแปรการสุ่มตัวอย่างประชา
กร
การสร้างเครื่องมือ การ
พิสูจน์
ทดสอบ
การรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์
สังเคราะห์
และสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายผล
และการให้ข้อ
เสนอแนะ)
-
ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียน
รู้ทักษะกระบวนการวิจัยของผู้
เรียน
และพิจารณาว่าควรจะ
เสริมทักษะด้านใดให้กับผู้เรียน
-
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและ
ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
-
ครูวัดและประเมินทักษะ
กระบวนการวิจัยควบคู่ไปกับ
ผลการเรียนรู้สาระตามปกติ
|
-
เรียนรู้ตามขั้นตอนของ
กระบวนการวิจัยที่ครูกำหนด
-
ฝึกทักษะกระบวนวิจัยที่จำ
เป็นต่อการดำเนินการตามขั้น
ตอนการวิจัยที่ครูกำหนด
-
อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ
กระบวนการวิจัยที่ตนเองมี
ประสบการณ์
และผลการวิจัย
ที่เกิดขึ้น
-
ประเมินตนเองในด้านทักษะ
กระบวนการวิจัย
และผลการ
วิจัยที่ได้รับ
|
|||
ตาราง 4 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย ในการ
เรียนการสอน
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
|||
แนวที่ 4 ผู้เรียนใช้กระบวน
การวิจัยในการเรียนการสอน
ครูให้ผู้เรียนทำวิจัยโดยใช้
กระบวนการวิจัย (ครบทุกขั้น
ตอน) ในการทำวิจัย
เพื่อแสวงหาคำตอบ
หรือความ
รู้ใหม่ตามความสนใจ
ของตน
|
-
ครูพิจารณาและวิเคราะห์วัตถุ
ประสงค์และสาระการเรียนรู้ว่า
มีส่วนใดที่เอื้อให้ผู้เรียน
สามารถทำวิจัยได้
-
ครูออกแบบกิจกรรมการเรียน
รู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำวิจัย
ได้
-
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
สนในใฝ่รู้
-
ครูฝึกทักษะกระบวนการวิจัย
ให้แก่ผู้เรียน (การระบุปัญหา
วิจัย
วัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย
สร้าง
เครื่องมือ
-
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและ
ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
-
ครูวัดและประเมินทักษะ
กระบวนการวิจัยควบคู่ไปกับ
ผลการเรียนรู้สาระตามปกติ
|
-
คิดประเด็นวิจัยที่ตนสนใจ
-
ฝึกทักษะกระบวนการวิจัยที่
จำเป็นต่อการดำเนินการ
เช่น
การระบุปัญหาวิจัยและวัตถุ
ประสงค์
การตั้งสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย
การสร้าง
เครื่องมือ
ฯลฯ
-
ปฏิบัติการวิจัยตามกระบวน
การวิจัยที่เหมาะสม
-
บันทึกความคิด และประสบ
การณ์
รวมทั้งข้อสังเกตต่าง ๆ
ที่ตนประสบจากการดำเนินงาน
-
อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ
กระบวนการวิจัย
และผลการ
วิจัยที่เกิดขึ้น
-
ประเมินตนเอง ด้านทักษะ
กระบวนการวิจัย
|
|||
บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัย
ทิศนา แขมมณี
(2547 : 56) กล่าวถึงกระบวนการวิจัยว่ามีด้วยกัน 6 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา
ขั้นที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 3 พิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 รวบ
รวมข้อมูล
ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล และขั้นที่ 6 สรุปผล
ซึ่งในการจัดการเรียนการสอน
โดยเน้นกระบวนการวิจัยหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้โดยทั่ว
ๆ ไป ครูมักจัดให้ผู้
เรียนดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยทั้ง 6 ขั้น
แต่จุดอ่อนที่พบก็คือ ครูมักไม่สอนหรือฝึกทักษะ
กระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินการให้แก่ผู้เรียน
ตัวอย่างเช่น ครูมักมอบหมายให้ผู้เรียน
ไปสืบค้นข้อมูลความรู้
หรือไปเก็บข้อมูล หรือสรุปข้อมูล โดยไม่ได้สอนหรือฝึกทักษะหรือสิ่งที่จำ
เป็นต่อการทำสิ่งนั้น
จึงได้กล่าวได้ว่าเป็นการสั่งมากกว่าการสอน การสั่งเป็นเพียงการเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการเหล่านั้น
ซึ่งผู้เรียนจะทำได้มากน้อยหรือดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กันศักย
ภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูไม่ได้สอนเพราะการสอนหมายถึง การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่ม
พูนขึ้นจากระดับที่เป็นอยู่
ดังนั้นหากครูจะสอนกระบวนการวิจัย ครูจะต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว
ครูจำเป็นต้องช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
ในแต่ละขั้นตอน
ซึ่งทักษะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะที่เรียกว่า ทักษะกระบวนการ ซึ่งอาจเป็น
ทักษะกระบวนการทางสติปัญญา
เช่น ทักษะกระบวนการคิด หรือทักษะกระบวนการทางสังคม
เช่น
ทักษะการปฏิสัมพันธ์ ทักษะการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบทบาทครูในการจัด
การเรียนรู้โดยกระบวนการวิจัยในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
นำเสนอได้ดังตาราง 5
ตาราง 5 บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัย
กระบวนการวิจัย
|
บทบาทครู
|
||
1.
ระบุปัญหาการวิจัย
|
ครูจะทำอย่างไร
ผู้เรียนจึงจะสามารถระบุปัญหาการวิจัยได้ชัดเจน
-
ครูควรสอนและฝึกทักษะการสังเกตปัญหา ตั้งคำถาม รวบรวมข้อ
มูล
วิเคราะห์ปัญหา และระบุปัญหาที่แท้จริง
|
||
2.
ตั้งสมมติฐาน
|
ครูจะทำอย่างไร
ผู้เรียนจึงจะสามารถตั้งสมมติฐานได้
-
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุ
คาดเดาคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักการและมีหลักฐานรองรับและ
ตั้งสมมติฐานที่เหมาะสม
|
||
3.
พิสูจน์ ทดสอบ สมมติฐาน
|
ครูทำอย่างไร
ผู้เรียนจึงจะสามารถพิสูจน์ ทดสอบสมมติฐานได้
-
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการ
ในการออกแบบ
การพิสูจน์หรือทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสมกับ
ศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
|
||
4.
รวบรวมข้อมูล
|
ครูจะทำอย่างไร
ผู้เรียนจึงจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้
-
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาแหล่งข้อมูล วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูล
และวิธีการสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมกับ
ศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
|
||
5.
วิเคราะห์ข้อมูล
|
ครูจะทำอย่างไร
ผู้เรียนจึงจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้
-
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการที่เหมาะสมกับศาสตร์ของ
เรื่องที่วิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้สถิติต่าง ๆ การกำหนด
เกณฑ์ประเมิน
และการนำเสนอข้อมูล
|
||
6.
สรุปผล
|
ครูจะทำอย่างไร
ผู้เรียนจึงจะสามารถสรุปผลได้
-
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการสรุปข้อมูล และการตอบ
สมมติฐาน
|
||
สรุปว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ 4 แนวทาง คือ
1. ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน
2. ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน
3. ครูใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน
4. ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวทางที่ 4 ได้แก่
ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน ซึ่งใช้กระบวนการวิจัย 6 ขั้น ในการจัดการเรียนรู้มีกระบวนการวิจัย ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหาการวิจัย
ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 3 การพิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 ขั้นรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 5 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น