วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 1 The STUDIES Model การจัดการเรียนรู้เเละการจัดการชั้นเรียน


บทที่ 1 The STUDIES Model การจัดการเรียนรู้เเละการจัดการชั้นเรียน
 การจัดการเรียนรู้เละการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The STUDIES Mode มีจุดหมายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการเเละเหตุผลสำคัญในการดำเเนวทางพัฒนาวิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเเห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตราที่ 9 (4) ที่ได้รับการกำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตราฐานวิชาชีพครู คณาจารย์เเละบุคลากรทางการศึกษา เเละการพัฒนาครู คณาจารย์ เเละบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
    รูปแบบThe STUDIES Mode มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะความเป็นครูตามมาตราฐานวิชาชีพ ตาทที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตราฐานวิชาชีพไว้เเละสอดคล้องกับเเนวคิดอาจารย์มืออาชีพ เเนวคิด เครื่องมือ เเละการพัฒนา(ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการ เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์เเละองค์กรอุดมศึกษาเเห่งประเทศไทย)ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้าสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก
กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
            รูปแบบ The STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ในการจัดการศึกษา Thailand 4.0 หรือยุคการศึกษา 4.0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ..2556 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การออกแบบการเรียนการสอนแบบสากล การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในกรกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า The STUDIES Model มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (The STUDIES Model framework) ดังแผนภาพประกอบ


ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542               4.หลักสูตร การสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และปรับปรุง
2553                                                          5.การศึกษา 4.0
2.มาตราฐานคุณวุฒิระดับปริญญา สาขาครุศาสตร์          6.การกำหนดระดับความเข้าใจในการกำหนดค่า
และหรือสาขาศึกษาศาสตร์(หลักสูตรห้าปี)
                     ระดับคุณภาพการเรียนตามแนวคิด SOLO
3.มาตราฐานวิชาชีพครูทางการศึกษา                        Taxonomy




แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้              งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
 1.ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้                                        1.Meyers and other (2002)
2.Constructivist learning Method : CLM                     2. Meyers and Mcnulty (2009)
3.แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนที่                  3.สุเทพ อ่วมเจริญ ประเสริฐมงคลและวัชรา เล่าเรียนดี
เป็นสากล                                                                     
4. สุจิตรา ปันดี(2558)(LRU Model)
4.SU Model                                                                  5.นฤมล ปภัสสรานนท์(2559)(DRU MODEL)
5.NPU Model






       รูปแบบ The STUDIES Model

รูปแบบ The STUDIES Model มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู ทีความรู้ความเข้าใจ บทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำคสามรู้ไปจัดการเรียนรู้ และจัดการชั้นเรียน รายละเอียดดังภาพประกอบ

รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้



S: กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning) กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals)ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสาระสนเทศ และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(procedural knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T: วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ ความรู้(Knowledge) ทักษะ(Skill) และเจนคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KAS diagram คือ Knowledge-Skill-Attitudes
U: การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่มีครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทำหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษาและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเช่นเครือข่ายสังคมออนไลน์ การแชร์ภาพ และการใช้อินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีในมากกว่าการเรียนรู้กับเทคโนโลยีสาร สนเทศแต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา จริยธรรม สังคม และการสะท้อน ซึ่งฟังอยู่ในการเรียนรู้การทำงานและชีวิตประจำวัน
I: การบูรณาการความรู้ (Intergrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลักรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะและเจตคติ
E: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน(Evaluation to Teaching) การประเมินการเรียนนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S: การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้(Structure of Observes Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตราฐานการประเมินคุณภาพในและการประเมินคถณภาพนอก 


สรุป
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เป็นรายวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาให้แตกฉานรูปแบบThe STUDIES Model เป็นการนำเสนอให้รู้จัก หลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้กล่าวได้ ว่าการรู้รูปแบบ The STUDIES Model อย่างเดียวแต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ ก็คงสอนไม่ได้ดีรูปแบบThe STUDIES Model พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใด เมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการ พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใดเมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนแล้วการจัดการเรียนรู้ต่อไปก็จะง่ายขึ้นถ้าเป็นไปได้ก็คิดขั้นตอนกระบวนการของตนเองขึ้นมาบ้างไม่ต้องเดินตามวิธีการที่คนอื่นกำหนดไว้เสมอไป




 

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น