วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ภาคผนวก


การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ความเป็นมาและความสำคัญ
      สืบเนื่องจากข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเร่งรัดดำเนินการในประเด็นด้านการศึกษาเรื่องการขาดแคลนครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลรวมทั้งการ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก
จึงได้พิจารณาให้มีการศึกษาและขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆโดยกำหนดให้ใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จำนวน 15,369 โรงเรียน  นอกเหนือจากที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและได้ผล
        การดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ
จะบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้นั้น มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน
วัตถุประสงค์   
              1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม 2557                   
             2. เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบปัญหาการมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก               
 3. เพื่อขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
เป้าหมาย
      1
. ด้านปริมาณ
             1
.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  จำนวน 183 เขต
             1
.โรงเรียนขนาดเล็ก  จำนวน  15,369 โรงเรียน
      1
. ด้านคุณภาพ
             2
.นักเรียน
                    2
.1.นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                    2
.1.นักเรียนมีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                    2
.1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
                               ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓  หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสำนักงานคณะกรรมการ
                              การศึกษาขั้นพื้นฐาน
             2
.ครูผู้สอน ร้อยละ 80  สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2
.ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ร้อยละ 100 สามารถบริหารจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2
.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 100 มีการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการดำเนินงาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับมอบหมายนโยบายและดำเนินกิจกรรมโครงการ
ดังนี้         
1. การจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม         
2. อบรมผู้บริหารและครูปลายทาง         
3. งานประชาสัมพันธ์         
4. งานการนิเทศ ติดตาม ประเมินและรายงานผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 
โรงเรียนปลายทาง
1
.กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1
) การจัดงานรวมพลังการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
2
) กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2
.การพัฒนาผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูปลายทาง
- การพัฒนาผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูปลายทาง
- พัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูปลายทางอย่างต่อเนื่องโดยผ่านช่องทางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV14) หรือช่องทางอื่น
- พัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้โดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านช่องทางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV14) หรือช่องทางอื่น
3
. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความยั่งยืน
จัดกิจกรรมกระตุ้นโรงเรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
-กิจกรรมเตรียมความพร้อมของครูก่อนเปิดภาคเรียน
-กิจกรรมสอนเสริม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ,6 ตลอดปีการศึกษา
4
. การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
- นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
- จัดทำคู่มือ/แนวทางการนิเทศ
- จัดประชุมคณะกรรมการนิเทศของ สพฐ.ร่วมกับ สตผ.
- สพฐ.(คณะกรรมการนิเทศและสตผ.) นิเทศ  กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสพป.
- สพป.นิเทศโรงเรียนในสังกัด
- รายผลการดำเนินงานระดับเขตและระดับประเทศ         
 1) ผ่านระบบ Online โดยบริษัท Feedback 180
       
      2) รายงานผลเชิงคุณภาพ
5
. การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทางการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทาง
         
-  การปรับปรุงบรรยากาศห้องเรียน           
     
-  จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ Flash Drive ๓๒ GB สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
     
-  ซ่อมแซมอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
     
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 5.5 k แบบแรงดันคงที่
     
- จัดสรรงบสื่อ BBL Resource  corner  ให้   15,369  โรงเรียนๆละ 3 ชุด
6
. การสร้างเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก         
 - จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย/ชมรมโรงเรียนขนาดเล็ก/จัดตั้งกลุ่มโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง
1
) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
2
) กิจกรรมช่วยเหลือแนะนำ               
  3
) การแก้ไขปัญหา
 4
) การเป็นพี่เลี้ยง ฯลฯ
7
. การจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ  สพฐ.
8
. การมีส่วนร่วมของชุมชนองค์กรต่างๆ และการขยายโอกาสการเรียนรู้สู่ชุมชน
9
. การสื่อสารเพื่อการพัฒนารับฟังความคิดเห็นการสอบถามเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้กับครู
10
. กิจกรรมการบริหารงานโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
             1
. ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
               
- ผู้บริหารระดับสูง และคณะทำงาน ทำการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
             2
. ประชุมราชการเพื่อการบริหารงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
                 
- ประชุมราชการเพื่อการบริหารงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
11
. การดำเนินงานของโรงเรียนต้นทาง
             1
) สนับสนุนอัตรากำลังครูที่ขาดแคลนของโรงเรียนต้นทาง
             2
) การอบรมพัฒนาครู
             3
) การคัดเลือกแบบเรียน หนังสือ แบบฝึก สื่อที่มีคุณภาพ แต่ละสาระการเรียนรู้
               4
) การผลิตสื่อมัลติมีเดียการเรียนการสอนที่ทันสมัย การ์ตูน แอนนิเมชั่น
12
. สนับสนุนมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทีย
สื่อดิจิตอล (Digital)
สื่อดิจิตอล หมายถึง  สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ เป็นต้น โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เป็นสื่อต่างๆ เหล่านั้นมาแปลงสภาพ และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน

รูปแบบของสื่อดิจิตอล ประกอบด้วย
1
. CD Training
2
. CD  Presentation
3
. VCD/DVD
4
. E-book และ E-document

1
. CD Training คือ การสร้าง สื่อดิจิตอลในลักษณะที่เป็น CD ที่ใช้ในการสอนการใช้งาน จะเป็นการสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น สอนการใช้โปรแกรม Microsoft Word เป็นต้น นอกจากนั้น CD Training ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องการสอนการทำงานของโปรแกรมต่างๆ จะใช้เป็นการสาธิตการทำงานของโปรแกรมเป็นต้น
2
.CD Presentation คือ การสร้างเป็นสื่อดิจิตอลในลักษณะที่เป็น CD ที่ใช้สำหรับในการนำเสนอในสถานที่ต่าง ๆ เช่น นำเสนอข้อมูลในที่ประชุม  นำเสนอข้อมูลบริษัท ที่เรียกว่า Company Profile
3
.VCD /DVD คือ การสร้างสื่อดิจิตอลในลักษณะที่เป็น CD ภาพยนตร์ ที่มีการตัดต่อภาพยนตร์ต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็น Movie Clip แล้วนำมาจัดเรียงต่อกันเป็นภาพยนตร์ 1 เรื่อง เป็นต้น
4
. E-book และ E-document  คือ การสร้างสื่อดิจิตอลในลักษณะที่เป็น การทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถสร้างโดยการแปลงไฟล์เอกสารต่าง ๆ ให้เป็น Webpage หรือเป็น PDF File เป็นต้น

กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศออสเตรเลีย กำลังร่วมมือกันพัฒนา Learning Object เพื่อรองรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้วางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทุกคนเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้ตามเป้าหมายปฏิรูปการศึกษา
อุปกรณ์ดิจิตอลส่วนใหญ่พยายามเน้นความสมจริง ในโลกของภาพ
และเสียงให้มีความละเอียดชัดเจนเหมือนธรรมชาติให้มากที่สุด  อุปกรณ์ดิจิตอลแทบทุกชิ้นสามารถแสดงผลได้สมจริงไม่ว่าจะเป็น จอภาพ กล้องวิดีโอ หรือแม้กระทั่งไฟล์รูปภาพเดิมที่เป็นไฟล์ JPEG ยังได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีความคมชัดเรียกว่า Hi-Def  Photo และนอกจากนี้เทคโนโลยีด้านความเร็วยังถือเป็นหัวใจสำคัญของสื่อดิจิตอลอีกด้วย โดยเฉพาะพลังประมวลของซีพียู (High Performance Processor)
https://sites.google.com/site/digital57402/_/rsrc/1468741835326/sux-dicithal/13062557162530_facultyEN_Digital-Art.jpg?height=452&width=958
ดิจิทัลอาร์ตส์ (Digital Arts)

https://sites.google.com/site/digital57402/_/rsrc/1468741835217/sux-dicithal/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-Turbo-2013.jpg?height=384&width=677
แอนิเมชัน (Computer Animation)


https://sites.google.com/site/digital57402/_/rsrc/1468741834808/sux-dicithal/star_wars_assult_team-1024x696.jpg?height=692&width=1022
แอคทีฟและเกม (Interactive and Game Design)

https://sites.google.com/site/digital57402/_/rsrc/1468741834473/sux-dicithal/Star-Trek-Into-Darkness.jpg?height=901&width=1439
เอฟเฟกต์ (Visual Effects)

https://sites.google.com/site/digital57402/_/rsrc/1468741834927/sux-dicithal/dfhmoprs3468.jpg?height=1197&width=1920
กราฟิก (Graphic Design)


อ้างอิงจาก : http
://www.blog.prachyanun.com/view.php?article_id=294
               http
://teen.mthai.com/education/30809.html

กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม
กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Processes)
          จุดมุ่งหมายของการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในตัวบุคคล โดยให้ความสำคัญที่รายบุคคล จะเห็นได้จากการวัดผล ประเมินผล จะดำเนินการในรายบุคคล ให้แต่ละคนได้แสดงความสามารถหรือสมรรถนะเพื่อการประเมิน และมีการรายงานผลความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงเป็นรายบุคคล เช่น รายชื่อบุคคลที่สอบได้ สอบตก หรือรายชื่อผู้ได้คะแนน หรือ เกรดในแต่ละคน เป็นต้น
           ในขณะที่สังคมประกอบกันขึ้นด้วยบุคคลหลาย ๆ คนมารวมกัน
การนำค่าเฉลี่ยของคนหลาย ๆ คนมาแสดงแล้วสรุปว่าเป็นค่าแทนความสามารถหรือการเรียนรู้ของกลุ่มหนึ่ง หรือของสังคมหนึ่ง เป็นที่นิยมและใช้สำหรับการวิจัยทางการศึกษามาโดยตลอด และการยอมรับผลของการประเมินจากการคำนวณค่าเฉลี่ยแล้วสรุปว่าเป็นการเรียนรู้ของสังคมนั้น ยังเป็นมิติการมองการเรียนรู้ของสังคมในมุมแคบ และอาจไม่ตรงกับเจตนาหรือความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
            ดังนั้นถ้าคะแนนค่าเฉลี่ยของผลการสอบระดับชาติ เช่น O
-NET, A-NET, หรือ V-NET ต่ำ หรือสูง ไม่สามารถอธิบายว่าการเรียนรู้ทางสังคมของประเทศไทยหรือสังคมไทยนั้นดีหรือไม่ดี ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา การให้โอกาสทางการศึกษา การแข่งขัน การเรียนเสริม การกวดวิชา ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางสังคมในบริบทที่แตกต่างไป
            ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning Theory เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดมาจากการเรียนรู้จากผู้อื่น
โดยได้รับประสบการณ์จากการฟัง ดู อ่านงานผู้อื่นมากกว่าทำด้วยตนเอง (Vicariousness) ซึ่งอาจเป็นการรับเอา (Adopting) พฤติกรรมของผู้อื่นเป็นแบบแผนในการกำหนดพฤติกรรมตนเอง อาจเกิดจากการสังเกต พบเห็นอยู่เป็นประจำ และอาจมีแรงจูงใจ ความประทับใจที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้รับเอาแบบแผนพฤติกรรมมาใช้เป็นแบบอย่างหรือเป็นต้นแบบการสร้างแบบแผนของตนเองขึ้น
            การเรียนรู้ทางสังคมจึงเป็นกระบวนการเผยแพร่ความรู้ ความคิด
พฤติกรรม หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ เทคนิควิธีการ เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสังคมที่มีระบบสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความคิด และมีการใช้สื่อรวมทั้งกระบวนการสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสร้างให้เกิดเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ การสร้างเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลจึงเกิดขึ้นได้ง่าย มีการเรียนรู้ทางสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีกระบวนการของการเรียนรู้แยกย่อย ๆ ได้เป็น 4 กระบวนการดังนี้

1
. กระบวนการสร้างความสนใจ ในขั้นนี้การสร้างความโดดเด่น (Salience) ให้เกิดความแพร่หลาย (Prevalence) กระทบกับภาวะของการรับรู้และกระบวนการทางปัญญาที่สามารถเข้าใจ (Cognitive Capabilities) กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น จนทำให้เกิดความพึงพอใจ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่สามารถสร้างความสนใจและเข้าถึงผู้คนส่วนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
2
. กระบวนการสร้างความคงทน เป็นส่วนสำคัญที่ต้องออกแบบสถานการณ์ของการเรียนให้สามารถคงทนได้ดี ทั้งนี้อาจใช้กระบวนการทำให้เกิดภาวะ “สะดุดในกระบวนการทางปัญญา” หรือ Cognitive Disfluency รวมทั้งการย้ำเตือน การใช้สัญลักษณ์ และวาทกรรมที่โดนใจ รวมทั้งอาจสร้างหรือทำสิ่งที่ แปลกใหม่ ล่อแหลม ท้าทายต่อความถูกต้องเชิงวัฒนธรรมและกฎหมายเพื่อสร้างความคงทนในการจดจำสิ่งที่ได้รับรู้มาจากกระบวนการสร้างความสนใจ
3
. กระบวนการแสดงออกเป็นผลิตภาพ เป็นกระบวนการเชื่อมโยงและถ่ายโอนของกระบวนการทางปัญญามาสู่พฤติกรรม สังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ทั้งการพูดและการกระทำ ซึ่งไม่เพียงแต่การเลียนแบบของการได้รับรู้ หรือเรียนรู้มาเท่านั้น ยังเป็นกระบวนการที่สร้างแบบแผนพฤติกรรมใหม่ที่มีแบบแผนเฉพาะแห่งตนขึ้นมาด้วย
4
. กระบวนการสร้างแรงจูงใจเป็นแบบอย่าง ในกระบวนการนี้เป็นการยืนยันและรับเอาแบบแผนแห่งตนเข้ามาเป็นบุคลิกภาพของตน ในขั้นนี้อาจมีการให้รางวัลตนเอง หรือสนับสนุนการกระทำของตนเอง รวมทั้งเผยแพร่แบบอย่างของตนสู่ผู้อื่นให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมขึ้นต่อ ๆ ไป

         เมื่อมีความเข้าใจตรงกันในกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมแล้ว
สามารถนำหลักการและกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม ด้วยการออกกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการควบคุม ส่งเสริม ป้องกัน กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และกำหนดมาตรการหรือแนวทางให้สังคมได้เรียนรู้ในทิศทางที่เหมาะสมสร้างความสงบสุขในสังคมได้
        นอกจากนั้นความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมยังสามารถอธิบาย
วิเคราะห์สาเหตุต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ในสังคมตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning Theory เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่เป็นการสร้าง หรือซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดลงหรือหมดไปได้
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (TASK-BASED LEARNING)
ความหมายของภาระงาน
นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ดังนี้
วิลลิซ และ วิลลิซ (Willis and Willis
. 1996 : 53 - 54) ได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ว่า ภาระงานคือกิจกรรมที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อบรรลุผลที่แท้จริง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าผู้เรียนจะใช้ทรัพยากรของภาษาเป้าหมายอะไรก็ตามที่พวกเขามีอยู่เพื่อที่จะใช้แก้ปัญหา ไขปริศนา เล่นเกม หรือแบ่งปันและเปรียบเทียบประสบการณ์ ภาระงานมีจุดเริ่มต้นที่หลากหลาย โดยอาจจะมาจากข้อมูลที่ผู้เรียนมี อย่างเช่น ประสบการณ์ส่วนตัว ความรู้ทั่วไป ภาระงานอาจจะมาจากงานเขียน บันทึกข้อมูลเสียง หรือบันทึกข้อมูลภาพ และอาจจะเป็นกิจกรรมอย่างเช่น เกมต่างๆ การสาธิต หรือการสัมภาษณ์
แบรนเดน (Branden
. 2006 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ว่า ภาระงาน คือกิจกรรมที่มีคนมีส่วนร่วมเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายซึ่งต้องมีการใช้ภาษา การใช้ภาษาในที่นี้คือการบรรลุเป้าหมายโดยการเข้าใจภาษาที่ป้อนและการสร้างผลผลิตทางภาษา ตัวอย่างเช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานการณ์จริงผ่านการใช้ภาษา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้มากขึ้น
ความสำคัญของภาระงาน
ไบเกต (Bygate
. 2001 : 23) กล่าวถึงความสำคัญของภาระงานไว้ว่า การใช้ภาระงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะภาษาเป้าหมายของผู้เรียน ในประเภทของภาระงานที่แตกต่างกันออกไปช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเป้าหมายสื่อสารได้อย่างมีความหมาย
ประเภทของภาระงาน
     พราบู (Prabhu
. 1987 : 46 47) แบ่งประเภทของกิจกรรมที่เป็นภาระงานออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งประเภทของภาระงานนี้อยู่ในช่วงเริ่มแรกของการนำภาระงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ ดังนี้
      1
. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (information - gap task) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้ผู้เรียนเกิดการส่งผ่านข้อมูลจากคนหนึ่งไปถึงอีกคน ในการทำกิจกรรมผู้เรียนจะต้องได้ใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลของตนกับสมาชิกในกลุ่มหรือภายในห้องเรียน เช่น การกำหนดตารางที่มีรายละเอียดยังไม่สมบูรณ์ และ มีข้อมูลที่สัมพันธ์กันกับตารางนั้นๆแจกให้ผู้เรียนเป็นข้อความที่แตกต่างกัน ซึ่งในการทำกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะต้องได้การใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความที่ตนมีกับผู้อื่น โดยที่ผู้เรียนจะต้องหาข้อความของสมาชิกคนอื่นที่มีความสัมพันธ์กับข้อความที่ตนได้รับเพื่อนำไปเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
      2
. กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ (reasoning - gap task) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่ได้รับโดยผ่านการคิดจากการวิเคราะห์ การอนุมาน การวินิจฉัย การให้เหตุผล หรือตามความคิดเห็นส่วนตัว เช่น ผู้สอนให้ผู้เรียนจัดตารางเรียนใหม่ โดยทำการระบุเวลาและรายวิชา และให้เหตุผลในการจัดตารางได้อย่างเหมาะสม
      3
. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (opinion-gap task) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้ เช่น การร่วมกันอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
     นูแนน (Nunan
. 2004 : 1) ได้กำหนดรูปแบบของภาระงานไว้ 2 ประเภท คือ ภาระงานเพื่อการเรียนการสอน (pedagogical task) ซึ่งเป็นภาระงานในชั้นเรียน และภาระงานจริง (real- world task) ซึ่งเป็นภาระงานที่เน้นการฝึกใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน มีรายละเอียดดังนี้
ภาระงานเพื่อการเรียนการสอน (pedagogical task
)
       นูแนน (Nunan
. 2004 : 20 - 21) กล่าวถึงความหมายของภาระงานเพื่อการเรียนการสอนไว้ว่า ภาระงานเพื่อการเรียนการสอนช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนภาษาจากการทำกิจกรรมผ่านการทำภาระงานในห้องเรียน โดยแบ่งประเภทของภาระงานเพื่อการเรียนการสอนไว้ 2 ประเภท ดังนี้
        1
.1 ภาระงานเพื่อการฝึกฝน (rehearsal rational) เป็นภาระงานที่ผู้เรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาอย่างมีเป้าหมาย และฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น การเขียนประวัติของตัวเองเพื่อใช้ในการสมัครงาน (resume) ผู้เรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และสื่อสารได้อย่างมีความหมาย โดยการทำภาระงานนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาทักษะทางภาษาของตนเองได้ดียิ่งขึ้นผ่านการทำกิจกรรมแบบจับคู่และได้รับคำแนะนำจากผู้สอน
        1
.2 ภาระงานเพื่อการกระตุ้น (activation rationale) เช่น การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำภาระงานกลุ่มๆ ละ 3 คน โดยกำหนดสถานการณ์ให้ ผู้เรียนอยู่บนเรือที่กำลังจะจม และผู้เรียนต้องว่ายน้ำไปที่เกาะถึงจะรอดจากการจมน้ำ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เรียนมีภาชนะกันน้ำ 1 อย่างที่สามารถบรรจุของได้ 20 กิโล ให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสิ่งของที่จะนำไปด้วย โดยมีรายการต่างๆตามที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ การทำภาระงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นจากสถานการณ์ที่ได้รับเพื่อให้เกิดการใช้ภาษาและโครงสร้าง ทั้งการพูดแสดงความคิดเห็น การพูดเพื่อตัดสินใจ การให้คำแนะนำ การพูดถึงปริมาณ เป็นต้น
       ริชาร์ด (Richards
. 2001 : 162) ได้นำเสนอรูปแบบของการจัดภาระงานเพื่อการเรียนการสอน (pedagogical task) ที่แตกต่างกันไว้อีก 5 ประเภท ดังนี้
        1
. ภาระงานประเภทจิ๊กซอว์ (jigsaw task) เป็นกิจกรรมภาระงานที่ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้เรียนคนอื่นๆเพื่อเรียบเรียงเรื่องราวให้สัมพันธ์กัน เช่น ผู้เรียนได้รับเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ผู้เรียนจะต้องทำการเล่าเรื่องร่วมกันกับกลุ่มอื่นๆโดยลำดับเหตุการณ์ตามท้องเรื่องได้อย่างถูกต้อง
        2
. ภาระงานแลกเปลี่ยนข้อมูล (information - gap task) เป็นกิจกรรมภาระงานที่ให้ผู้เรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม โดยที่จะได้รับชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน ผู้เรียนจะต้องทำการสื่อสารเพื่อขอและให้ข้อมูลเพื่อให้ภาระงานนั้นแล้วเสร็จ
        3
. ภาระงานแก้ปัญหา (problem solving task) เป็นกิจกรรมภาระงานที่ให้ผู้เรียนได้คิดหาแนวทางแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนดตามชุดของข้อมูลที่กำหนดให้
        4
. ภาระงานเพื่อการตัดสินใจ (decision - making task) เป็นกิจกรรมภาระงานที่ให้ผู้เรียนได้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจต่อเรื่องหรือปัญหาที่ผู้สอนกำหนด โดยผู้เรียนต้องอธิบายเหตุผลที่เลือกตัดสินใจสิ่งนั้น
        5
. ภาระงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (opinion exchange tasks) เป็นกิจกรรมภาระงานที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีความเห็นที่ตรงกันกับบุคคลอื่น
ภาระงานจริง (real
-world task)
       นูแนน (Nunan
. 2004 : 19 - 20) กล่าวถึงความสำคัญของภาระงานจริงไว้ว่า ภาระงานจริงคือสิ่งที่เราทำเป็นประจำในทุกๆวัน เป็นการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ทั้งการเขียนบทกลอนจนรวมไปถึงการจองตั๋วเครื่องบิน ภาระงานจริงมุ่งเน้นไปยังการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยในทั่วไปนั้นมีระดับการใช้ภาษาอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
        2
.1 การใช้ภาษาเพื่อการค้าและบริการ (goods and services)
        2
.2 การใช้ภาษาเพื่อปฎิสัมพันธ์ในสังคม (social macrofunction)
        2
.3 การใช้ภาษาเพื่อความเพลิดเพลิน (aesthetic macrofunction)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
     วิลลิซ (Willis
. 1996 : 56) กล่าวว่า ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงานและขั้นปฏิบัติภาระงานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารกันในกลุ่มเล็กๆ ไปสู่การสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างลื่นไหลและเป็นธรรมชาติ ขั้นตอนการปฏิบัติภาระงานที่สมบูรณ์นั้นมีเป้าหมายเพื่อสร้างปัจจัยสำคัญต่างๆ ในการเรียนภาษาให้เกิดขึ้นในห้องเรียน มีขั้นตอนดังนี้
      1
. ขั้นก่อนการปฏิบัติภาระงาน (pre-task)
       1
.1 ครูผู้สอนแนะนำบทเรียน รูปแบบ จุดประสงค์ของภาระงานต่างๆ
       1
.2 ผู้สอนกำหนดภาระงานพูดจากเนื้อหา
       1
.3 ครูผู้สอนเตรียมความพร้อมและความเข้าใจของผู้เรียนในขั้นตอนของการปฏิบัติภาระงาน
      2
. ขั้นดำเนินงานตามตามวงจรของการปฏิบัติภาระงาน (task cycle) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติภาระงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้
       2
.1 ภาระงาน (task) ผู้เรียนมีการอภิปราย ปฏิบัติภาระงานตามที่ได้รับมอบหมายในรูปแบบของกิจกรรมเดี่ยว จับคู่ และกลุ่ม
       2
.2 วางแผน (planning) ผู้เรียนเตรียมตัวนำเสนอภาระงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการใช้ภาษาด้วยตนเองซึ่งครูผู้สอนจะให้ความช่วยเหลือหากมีความติดขัดทางการใช้ภาษา
       2
.3 ขั้นรายงาน (report) ผู้เรียนสรุปผลและรายงานผลจากภาระงานที่ตนปฏิบัติ ครูผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและประเมินผลงานนั้นๆ
      3
. ขั้นฝึกฝนและตรวจสอบการใช้ภาษา (language focus) ผู้เรียนจะสามารถประเมินผลการปฏิบัติภาระงานของตนและเปรียบเทียบผลจากการปฏิบัติภาระงานของผู้อื่น มีขั้นตอนสำคัญ 2 ขั้นตอน
       3
.1 ขั้นวิเคราะห์ (analysis) ผู้เรียนตรวจสอบการใช้ภาษาในการปฏิบัติภาระงานของตนเอง และสามารถสร้าง คำ วลี ขึ้นใหม่เองได้จากการวิเคราะห์คำที่ใช้สื่อสารความหมายจากการปฏิบัติภาระงานที่ผ่านมา
       3
.2 ขั้นปฏิบัติ (practice) ผู้เรียนฝึกฝนการใช้ภาษาโดยเรียนรู้คำ วลี และรูปแบบโครงสร้างตามเนื้อหาที่เรียน
     วิลลิซ และ วิลลิซ ( Willis and Willis
. 2007 : 76 - 77) ได้ยกตัวอย่างภาระงานการจัดประเภท โดยมีชื่อภาระงานว่า ‘International wordsดังนี้
      ขั้นภาระงานเป้าหมาย (target task
) คือ ให้ผู้เรียนจัดประเภทสิ่งที่รับประทานได้ สิ่งที่ดื่มได้ กีฬา การขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า สื่อ คำทักทาย และคำต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรงเรียนลงในช่องว่างที่แบ่งไว้แต่ละประเภท
       ขั้นการทำกิจกรรม (during task
)
        1
. ผู้สอนแบ่งช่องเพื่อจัดประเภทบนกระดาน โดยแต่ละประเภทจะมีตัวอย่างให้ไว้หนึ่งตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติภาระงาน
         2
. ผู้เรียนพูดคำศัพท์ที่เหมาะสมกับแต่ละประเภท อย่างเช่น ประเภทกีฬา ผู้เรียนจะพูดคำศัพท์ เทนนิส (tennis) และ กอล์ฟ (golf) เป็นต้น
อ้างอิง https
://massupha.wordpress.com/2016/03/12


กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning
กระบวนการเรียนรู้ Active Learning (กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก)
การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติ ในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%
ลักษณะของ Active Learning
(อ้างอิงจาก :ไชยยศ เรืองสุวรรณ)
เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด
เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด
ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
บทบาทของครู กับ Active Learning
ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (2550
) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้
1
. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน
2
. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน
3
. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
4
. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
5
. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย
6
. วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม
7
. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน
ที่มา :
1
. https://social.crru.ac.th/activeLearning
2
. https://parnward8info.wordpress.com/2014/01/29/active-learning-หมายถึงอะไร
หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
      หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการ เป็นส่วนที่สำคัญของหลักสูตรแบบบูรณาการ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีผู้เสนอแนวคิดไว้ ดังต่อไปนี้ สำลี รักสุทธิ และคณะ (2544 : 27-18) ได้เสนอหลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการ ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมที่ใช้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคม และ อารมณ์
2
. ยึดการบูรณาการวิชาเป็นสำคัญ โดยการบูรณาการทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือระหว่าง วิชาเชื่อมโยงหรือบูรณาการเข้าด้วยกันให้เป็นความรู้แบบองค์รวม
3
. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
4
. ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นสำคัญ
5
. เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานโดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึง กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิผลของงานด้วย
 6
. เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและ การติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
7
. เน้นการเรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย
8
. เน้นการเป็นคนดีและมีคุณค่า ต่อสังคม ประเทศชาติ เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งหรือ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน         
           ส่วนอรทัย มูลคำ และคณะ (2542
: 13) ได้เสนอหลักในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการ ได้แก่
1
. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการ เรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น
 2
. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานกลุ่มด้วยตนเอง โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่ม ลักษณะต่างๆ หลากหลายในการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือทำ
3
. จัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเข้าใจง่ายตรง กับความจริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีเหตุผล
4
. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิดกล้าทำ ส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตนเองต่อสาธารณะชนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
5
. เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม ให้ผู้เรียนสามารถ วางแผนแยกแยะความถูกต้องดีงามและความเหมาะสมได้ สามารถขจัดความขัดแย้งได้ด้วยเหตุผล มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาและสามัคคี           
                 แนวคิดเดียวกันนี้ วลัย พาณิช ( 2544
: 167-169) ได้เสนอแนวทางการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการออกเป็น 2 ลักษณะ
 1
. ลักษณะที่เป็นหัวเรื่อง (Theme) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1 การจัดการเรียนการสอนแบบจัดหน่วยบูรณาการ (Integrated Unit) ซึ่งจะต้องมี เนื้อหาและกระบวนการ วิธีการ และเนื้อหาวิชาที่จะบูรณาการตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป
1
.2 การจัดการเรียนการสอนแบบมีหัวเรื่อง (Theme) จะไม่มีการบูรณาการเชิง เนื้อหาวิชา เรียกว่า เป็นการบูรณาการแบบหน่วยการเรียนหรือหน่วยรายวิชา
2
. ลักษณะที่เป็นโครงการ เป็นการสอนตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป ให้ผู้เรียนสามารถจัดในรูป ของโครงการที่บูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา ความรู้จากหลายหลากวิชาในเรื่องเดียวกัน มอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงการร่วมกัน ครูวางแผนการสอนร่วมกัน และกำหนดงานหรือโครงการร่วมกัน         
                กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการนั้น
จะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการสอนที่เป็นบูรณาการ (Integrative Teaching Styles) ซึ่งต้องมีวิธีการที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ผสมผสานกัน ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยวิธีสืบสอบ (Inquiry) หรือใช้วิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการทำงานร่วมกัน มีงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวผสมผสานกันไป เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประสบการณ์จริง ประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่ในขอบเขตสมรรถภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงต้องพิจารณาขอบเขตการเรียงลำดับของเนื้อหาของลักษณะวิชารวมทั้งลักษณะของผู้เรียนด้วย และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง
นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่ดี
         การพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1
. นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum Innovation) การจัด กิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะ ความสมารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2
. นวัตกรรมกระแสนิยม (In Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแส หรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบ กิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
 3
. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มี การบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4
. นวัตกรรมเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108 Student Initiations Innovation) การ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณ์
5
. นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized Innovation) การจัดกิจกรรมที่ กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6
. นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริหาร (Service Learning-Based Innovation) การจัด กิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้ บริการแก่สังคม
7
. นวัตกรรมการประชุม (Forum Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8
. นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต” ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9
. นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็น ผู้กำหนดคุณลักษณ์ที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยใน ชีวิตประจำวัน
 10
. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการ ฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11
. นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการ แสดงพฤติกรรมในโรงเรียน
เทคนิคการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการสอน จึงหมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น
ทักษะการสอน       
 ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฏิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่งครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอนการประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ
นวัตกรรมการสอน
      นวตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่ทำขึ้น
ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น นวัตกรรมการสอนจึงหมายถึงแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ
การวิจัยด้วยการเรียนการสอน         
การวิจัยด้านการเรียนการสอน คือ การศึกษาหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือต่อแปรที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนครอบคลุมตัวแปร เกี่ยวกับผู้เรียนผู้สอน บริบทของการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และผลผลิตของการเรียนการสอน
ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
- นักเรียนขาดทักษะกระบวนการ( ขาดการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ ) ไม่สามารถบูรณาการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาสาระ อื่น ๆได้  ตัวจักรสำคัญที่จะให้นักเรียนเกิดทักษะดังกล่าว คือ ครูแน่นอน... แต่ตัวครูใช่ว่าจะไม่มีปัญหา ทั้งปัญหาส่วนตัว และ ปัญหาของระบบโรงเรียน  ครูอาจขาดทักษะเอง ( เพราะเรียนมานานมากแล้ว ประเภทแก่ความรู้...ไม่เข้าเคสนี้ ) บางที่ครู และ นักเรียนอาจเรียนรู้ ไปพร้อม ๆกัน  อย่าลืมอย่างหนึ่งว่า... ยังมีอีกหลายมุมที่นักเรียนรู้ แต่..ครูไม่รู้... และเป็นอีกครั้งที่เราต้องเรียนรู้จากนักเรียนของเรา
       
- ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของการเรียนการสอน
       
-ปัญหาครอบครัวของเด็กแต่ละคน  ที่บางครอบครัวไม่ค่อยให้ความสำคัญของการศึกษา  ผู้ปกครองไม่เคยกวดขันการทำการบ้านของบุตรหลาน  ไม่เคยสนใจไต่ถามเกี่ยวกับการเรียน... ( อย่าคิดว่า..มีแบบนี้ด้วยหรือ ) เด็กเลยขาดความรับผิดชอบงานที่ครูกำหนดให้...
         
- ปัญหามีมากมายหลายอย่าง..ครูแต่ละคนประสบพบเจออาจจะเหมือนกัน หรือ ไม่เหมือนกัน... ถ้าเราตั้งใจจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนจริง ๆ ... ต้องดูที่ต้นตอของปัญหา...และหาวิธีการ หรือ เทคนิคต่าง ๆมาแก้... จะทำให้ปัญหาที่มีอยู่เบาบาง  ลดน้อยลง ... วิธีที่ครูเราทำมานานมาก..และนิยมกันมาก คือ การทำวิจัยปัญหาต่าง ๆ นาๆ ... และจริงหรือเปล่า ที่การวิจัยนั้นสามารถแก้ปัญหาได้จริง ๆ หรือ ตรงจุด... แต่อย่างน้อย...ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี
ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี

นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี
(สิริพร ทิพย์คง. 2545 : 195 ; พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2545 : 135 161)
         1
. ความเที่ยงตรง เป็นแบบทดสอบที่สามารถนำไปวัดในสิ่งที่เราต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด
         2
. ความเชื่อมั่น แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่น คือ สามารถวัดได้คงที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตาม เช่น ถ้านำแบบทดสอบไปวัดกับนักเรียนคนเดิมคะแนนจากการสอบทั้งสองครั้งควรมีความ สัมพันธ์กันดี เมื่อสอบได้คะแนนสูงในครั้งแรกก็ควรได้คะแนนสูงในการสอบครั้งที่สอง
         3
. ความเป็นปรนัย เป็นแบบทดสอบที่มีคำถามชัดเจน เฉพาะเจาะจง ความถูกต้องตามหลักวิชา และเข้าใจตรงกัน เมื่อนักเรียนอ่านคำถามจะเข้าใจตรงกัน ข้อคำถามต้องชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน
         4
. การถามลึก หมายถึง ไม่ถามเพียงพฤติกรรมขั้นความรู้ความจำ โดยถามตามตำราหรือถามตามที่ครูสอน แต่พยายามถามพฤติกรรมขั้นสูงกว่าขั้นความรู้ความจำได้แก่ ความเข้าใจการนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
         5
. ความยากง่ายพอเหมาะ หมายถึง ข้อสอบที่บอกให้ทราบว่าข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกมากหรือตอบถูกน้อย ถ้ามีคนตอบถูกมากข้อสอบข้อนั้นก็ง่ายและถ้ามีคนตอบถูกน้อยข้อสอบข้อนั้นก็ ยาก ข้อสอบที่ยากเกินความสามารถของนักเรียนจะตอบได้นั้นก็ไม่มีความหมาย เพราะไม่สามารถจำแนกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อน ในทางตรงกันข้ามถ้าข้อสอบง่ายเกินไปนักเรียนตอบได้หมด ก็ไม่สามารถจำแนกได้เช่นกัน ฉะนั้นข้อสอบที่ดีควรมีความยากง่ายพอเหมาะ ไม่ยากเกินไปไม่ง่ายเกินไป
         6
. อำนาจจำแนก หมายถึง แบบทดสอบนี้สามารถแยกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อนโดยสามารถจำแนกนักเรียน ออกเป็นประเภทๆ ได้ทุกระดับอย่างละเอียดตั่งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด
        7
. ความยุติธรรม คำถามของแบบทดสอบต้องไม่มีช่องทางชี้แนะให้นักเรียนที่ฉลาดใช้ไหวพริบในการ เดาได้ถูกต้องและไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เกียจคร้านซึ่งดูตำราอย่าง คร่าวๆตอบได้ และต้องเป็นแบบทดสอบที่ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
        สรุปได้ว่า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ต้องเป็นแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย ถามลึก มีความยากง่ายพอเหมาะ มีค่าอำนาจจำแนก และมีความยุติธรรม
อ้างอิงจาก
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ. (2545
). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน.
        
(พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ : ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สิริพร  ทิพย์คง. (2545
). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพ
วิชาการ.