วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ใบงาน


1.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร 

ตอบ รูปเพชรดูแข็งแรงกว่ารูปดอกบัว และดูไม่สลับซับซ้อนเหมือนรูปดอกบัว

และยังมีตัวหนังสืออธิบายให้เข้าใจความหมายของแต่ละตัวย่อว่าหมายถึงอะไร มีความชัดเจนมากกว่า

2.ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล

ตอบ ชอบภาพที่2 รูปเพชร เพราะดูแล้วมีความแข็งแรง และสามารถตีความหมายได้ว่าหมายถึงอะไร
 



วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Mapping

ตรวจสอบทบทวน

บทที่2 PPT

ตรวจสอบทวทวน

อัธยาตมวิทยา

อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
           นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 - 8) ได้กล่าวไว้ว่า หนังสือ อัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะ ยาค-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจําเป็นต้องรู้ เพร ทํางานกับคน เป็นตําราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ ที่เขียนโดย ขุนจรัสชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร) พระ เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 (พ.ศ.2449) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญ ชวนให้นิสิต นักศึกษาอ่านด้วย และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียนตํารา ควรอ่านแล้วปรับปรุงดํารา ให้ ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จําเป็นสําหรับครูจริงๆ ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับที่คาราอัธยาตมวิทยานแสดงตัวอย่างไว้หนังสือ อัธยาตมวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่า 10 ตอน คือ
                1. วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ซึ่งเน้นว่า ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจ บ้านจึงให้ละลึง เหมือนแพทย์ที่ดีต้องรู้อาการของร่างกายคนใช้
               2 ลักษณะทั้งสามของจิตใจ (ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญ ของจิตใจไว้ 3 ชั้น คือ อายุ 17 ปี 7-14 ปี และ 14 - 21 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
              3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง และที่ต้องทําให้เกิดขึ้น
              4. ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพฯ กับเด็กบ้านนอกมีความ พิจารณาค่างกันอย่างไร และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมี ข้อแนะนําที่น่าสนใจสําหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์ พงศาวดาร การเขียนลายมือ และวาดรูป
           5. ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม คม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัด อาการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป หัดให้รู้จักหนทางไกล (การวัดการคาดคะเน) หัดให้รู้จักรูปด้วยอาการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอําน-ด้วยเพลง หัดอาการคมและ อการซึม
         6. ความจํา มีเรื่องลืมสนิท และลืมไม่สนิท จําได้และนึกออก ชนิดของความจําและเรื่องที่ครูควร อ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจํา สิ่งที่ควรให้นักเรียนทองขึ้นใจ และสิ่ง ที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
        7. ความคิดคํานึง วิธีฝึกหัดความคิดคํานึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิด คํานึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่ เห็นว่าไร้สาระ ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคํานึงได้
    8. ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2 อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็น มีตัวอย่าง บทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น การเขียนหนังสือ และวาดรูป บทเรียนสําหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตําราไวยากรณ์ เลขการเล่นออกแรง
9. ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน 2 แบบ คือ แบบคิดค้น” (induction) และแบบคิดสอบ” (deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษา ต่างกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิดสอบ และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 11 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการ คิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า วิธีสําเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธี อื่น ๆ
10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง คําจํากัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน คือ เรียนรู้หลักวิชา จิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน (จรัส ชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร),ขุน (2548) นนทบุรี สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

บทที่ 3 PPT

ตรวจสอบทบทวน

Model


วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความเก่ง 7 ชนิด


Multiple Intelligences   ความเก่ง 7 ชนิด หรือ เรียกว่า พหุปัญญาก็ได้
 เรารู้ว่า...เมื่อเราทำอะไรที่เราถนัด เรามักจะทำมันได้ดีมากๆ ผลลัพธ์แบบสุดยอด
เหมือนเวลาเราทำงานก็เช่นกัน...หากเรารู้ความเก่งหริอความสามารถของเราแล้วและเราสามารถเลือกทำงานได้ตรงกับความเก่งของเราผลงานที่ออกมาก็คงจะนำพาทีมงาน องค์กร หรือประเทศ ก้าวหน้าไปได้อย่างรุ่งโรจน์
ประเด็นคือว่า...มีสักกี่คนที่สามารถล่วงรู้จริงๆว่าเรามี ความเก่งอะไรบ้าง?


7 Multiple Intelligences ความเก่ง 7 ชนิด หรือ ที่หลายคนเรียกว่า พหุปัญญานั้นประกอบด้วยความเก่งที่พิสูจน์แล้วว่า...สามารถแยกออกมาเป็น 7 อย่างที่ชัดเจน ได้แก่
1. ความเก่งด้านภาษา(Linguistic)ความสามารถในการใช้ภาษา ถ้องคำ สำนวน จับประเด็นหรือใจความสำคัญเก่ง เขียนหนังสือได้ดี การอ่านการเขียนดีเช่น กวี นักหนังสือพิมพ์ นักกฎหมาย
2.ความเก่งด้านตรรก-คณิตศาสตร์(Logical-Mathematical)ความสามารถทางด้านตัวเลข จำนวน การจัดลำดับ ค้นหารูปแบบ สร้างสมมติฐาน ใช้ชีวิตแบบมีเหตุผลเช่น นักวิทยาศาสตร์ นักบัญชี นักคอมพิวเตอร์
3.  ความเก่งด้านมิติ(Spatial)ความสามารถในการคิดเป็นภาพ มองโลกเห็นเป็นภาพต่างๆ จำลองสร้างภาพได้ มีประสาทความไวในการดู สามารถมองเห็นรายละเอียดและจำลอองภาพในสมองได้ดีเช่น ศิลปิน นักบิน วัศวกร สถาปนิก ช่างภาพ
4. ความเก่งด้านดนตรี(Musical)ความสามารถในเรื่องเสียง ทำนอง จังหวะ สามารถผลิตทำนองหรือจังหวะได้ ประสาทหูไวต่อเสียง ร้องเพลงได้ถูกจังหวะเช่น Beethoven, Bach
5. ความเก่งด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic)สามารถควบคุมการเลื่อนไหวของร่างกายได้ดี ใช้มือในการหยิบจับหรือกระทำกับสิ่งของได้อย่างคล่องแคล่งเช่น นักกีฬา นักประดิษฐ์ ช่างไม้ ช่างตัดเสื้อผ้า ศัลยแพทย์
6. ความเก่งด้านมนุษยสัมพันธ์(Interpersonal)เข้าใจผู้อื่น ทำงานกับผู้อื่นได้ดี สังเกตและรับรู้อารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของผู้อื่นเช่น ครู นักบริหาร นักการเมือง นักสร้างเครือข่าย นักไกล่เกลี่ย นักประสานงาน
7.  ความเก่งด้านรู้จิตใจของตนเอง(Intrapersonal)สามารถแยกสภาพจิตใจและอารมณ์ของตนเองได้ นำความเข้าใจจิตใจของตนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มักพึ่งพาตนเอง ชอบอิสระเสรี มีวินัยในตนเองสูง ชอบทำงานลำพังเช่น พระ นักสอนศาสนา นักแนะแนว นักธุรกิจ Business Owner


การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

การออกแบบห้องเรียนเเนวใหม่(New Classroom Desing)


การออกแบบการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล



ความหมายของการออกแบบการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
กรองได อุณหสูต (2554, ออนไลน์) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนรู้เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจซึ่งประกอบไปด้วย 6 ด้าน  ได้แก่ ความสามารถในการอธิบาย  ความสามารถในการแปลความ  ความสามารถในการประยุกต์ใช้  ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย  ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง
การออกแบบระบบการเรียนมีความจำเป็นและมีความสำคัญยิ่งต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเรียนของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนจากการใช้เทคโนโลยีแบบพกพา (Mobile Learning) ซึ่ง เป็นสื่อเทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบัน สอดคล้องกับ กูกัลก้า ฮูล์ม และแทร็กเลอร์ (Kukulska-Hulme and Traxler 2013,244-257) ในเรื่องของการออกแบบการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ดังนี้
การออกแบบเนื้อหา (Design of Content) โดยการออกแบบจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ  ดังนี้ 1.1 การออกแบบเนื้อหาสำหรับผู้เรียน(Learner-Centre Content)  จะเน้นไปในสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
1.2 การออกแบบเนื้อหาสำหรับบุคคลทั่วไป (Personalized Content) ผู้เรียนมีความคิดเห็นถึงการออกแบบเนื้อหาสำหรับบุคคลทั่วไปว่าการออกแบบเนื้อหาสำหรับคนทั่วไปนั้นไม่เน้นรายละเอียดที่เป็นเนื้อหาเชิงวิชาการมากนักแต่เน้นการแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3 ความทันสมัยและเป็นปัจจุบันของเนื้อหา (Update Content)  จะต้องมีความทันสมัยและเป็นปัจจุบันตลอดเวลาเพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนและก้าวทันความรู้ใหม่ๆ
1.4 การจัดแบ่งช่วงเวลาการใช้เนื้อหา(Time or Scheduled Content)  ควรคำนึงถึงการจัดแบ่งช่วงเวลาของการใช้เนื้อหาให้มีความเหมาะสม กับวัย เพศ อายุของผู้เรียน
1.5 การสื่อสารเชิงวนเนื้อหา (Aural Content)  ควรใช้ภาษาเขียนมาทำการเรียบเรียงให้เป็นภาษาหรือข้อความที่เข้าใจง่าย มีความเหมาะสม ไม่ยืดเยื้อจนหาเนื้อหาความรู้ไม่ได้
1.6 ความยืดหยุ่นของเนื้อหา (Flexible Content)  ควรใช้เนื้อหาที่มีความเหมาะสมไม่ตึงเครียด ควรเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เรียนในการสอบถามหรือให้ความคิดเห็นได้ และการออกแบบเนื้อหาไม่ควรมีแค่ตัวอักษรอย่างเดียวแต่ควรมีภาพหรือสีที่แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจมากขึ้น
2.การออกแบบกิจกรรมทางการเรียน (Design of Activities)
2.1 พฤติกรรมทางการเรียน
(Behaviorist Learning  หมายถึง  ความสนใจในเนื้อหา การแสดงออก หรือลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงออกให้เห็นต่อกิจกรรมหรือเนื้อหา ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมทางการเรียนจะต้องคำนึงถึงช่วงอายุ ของผู้เรียนเพราะผู้เรียนแต่ละช่วงอายุมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
2.2 การสร้างสรรค์ทางการเรียน (Constructivist learning)  การออกแบบกิจกรรมในการเรียนรู้ควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมมากขึ้นนอกจากนี้ในการออกแบบกิจกรรมควรเน้นให้ผู้เรียน
3.การออกแบบกระบวนการสื่อสาร
3.1 การออกแบบกระบวนการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญของการออกแบบการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพราะในบางครั้งอาจจะไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาเขียนทั้งหมดแต่จะเน้นเป็นรูปภาพ การตอบโต้กันผ่านทางจอภาพ ซึ่งผู้สอนจะต้องออกแบบของเนื้อหากระบวนการสื่อสารให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสามารถต่อยอดความคิดได้
3.2 มีระบบการจัดการเก็บรวบรวมสารสนเทศทั้งในรูปแบบของภาพและเสียง เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้นั้นมีความน่าสนใจ น่าติดตามไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
สรุป องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลนั้นประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ การออกแบบเนื้อหา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบการสื่อสาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนในสังคมยุคที่ทุกคนต่างเรียกว่าสังคมไร้สายที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สังคมแห่งยุคดิจิทัล (Digital Age)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
เอทเมอร์ และเพื่อน (Ertmer et al,2013,8-13) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ของครูและผู้เรียนในยุคสังคมดิจิทัลจะต้องมีระบบของการออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการออกแบบการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยองค์ประกอบสำคัญหลากหลายปัจจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนาและการปฏิบัติ ดังนี้
1. ปัจจัยด้านคน หรือ บุคลากร
2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม บริบทของการจัดการเรียนรู้
3. ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ลักษณะการออกแบบสภาพสิ่งแวดล้อมของการเรียนแบบออนไลน์ ควรมีลักษณะ  ดังนี้
มีการพัฒนาเครือข่ายความรู้เชิงบูรณาการและผสมผสานกันให้มีความน่าสนใจและเพิ่มจำนวนมากขึ้น
2. ปรับปรุงและพัฒนาแนวคิดในการสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตรงกับการเรียนยุคใหม่ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการสร้างตัวแบบทางการเรียน
3. สร้างผู้เรียนให้เกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ หรือสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์และสิ่งที่เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
4.หลอมรวมองค์ความรู้ในเนื้อหาของหลักสูตรการเรียนให้เกิดขึ้นทั้งกับผู้เรียนและกลุ่มเครือข่ายการเรียนรู้
5. สร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะของนักวางแผนทางการเรียนได้ด้วยตนเองและเชื่อมโยงความสามามารถในการเชื่อมโยงความรู้จากเครือข่ายภายนอก


สมรรถนะทางดิจิทัลและสารสนเทศที่พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด บรุ๊ค ชื่อ สโคนัล เซเว่น พิลลาร์ (SCONUL’s Seven Pillars  ที่มา: Beetham H. and Sharpe,R. (2013,295)
ผู้เรียนจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1.   ต้องมีความรู้ความเข้าใจ (Recognized Need) รวมถึงสิ่งสำคัญก็คือผู้เรียนต้องมีความสนใจใฝ่รู้ที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมต่างๆ
2.  ต้องเป็นผู้ที่รู้จักแยกแยะหาความรู้หรือศึกษาเกี่ยวกับสิ่งตนเองสนใจ เช่นสนใจทางด้านการผลิตสื่อ หรือสนใจด้านการใช้โปรแกรม เป็นต้น
3.  ต้องรู้จักสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทางด้านการใช้ไอซีที
4.  ต้องสามารถเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับไอซีทีได้อย่างเหมาะสม
5.  สามารถเปรียบเทียบและประเมินค่าของการใช้ไอซีทีได้อย่างเหมาะสม
6.  สามารถจัดการบริหารและประยุกต์ใช้ไอซีทีได้อย่างเหมาะสม
7.  สามารถที่จะสังเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้
ความสำคัญและความจำเป็นที่มีต่อการใช้ห้องเรียนดิจิทัล
1. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการเรียน (Learning Paradigm Shift)
3. เพื่อจำแนกคัดกรองการใช้สื่อดิจิทัลระหว่างครูกับนักเรียน (Digital Divide between Educators and Students)
4. เพื่อเป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Classroom Technologies)
สรุป
การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ ทำให้การเรียนการสอนมีความสะดวกรวดเร็ว เช่น ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน  ความสะดวกในการเข้าถึง ค้นหาข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานดิจิทัล และเผยแพร่ชิ้นงานของผู้เรียน เป็น การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ที่ผู้สอนจะต้องสร้างบริบทการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ออกแบบการจัดการเรียนรู้และประเมินผลผู้เรียนให้สอดคล้องกับกรอบความคิดของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เนื้อหาและการมีทักษะในศตวรรษที่21 ผ่านการได้ลงมือปฏิบัติการจริงของผู้เรียน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผน วิเคราะห์ และอธิบายแผนและผลการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ มีมุมมองที่หลากหลายมีความพร้อมในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมถึงสามารถสะท้อนความคิดเห็นของตัวเองได้และมีความเข้าใจตนเองพร้อมปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี  อย่างไรก็ตามในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลนั้นก็มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้คือ ปัจจัยด้านบุคลากร หรือคน  เพราะคนเป็นคนกำหนดนโยบายที่จะพัฒนาการเรียนรู้ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบทของการเรียนรู้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อตัวของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ปัจจัยด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมาจากการประเมินผลผู้เรียน ทั้งทางด้านเนื้อหา และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ทุกคนจะต้องให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาของประเทศไทย